วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ทุกอย่างกำหนด...แล้ว(ตอนแรก)


เพราะว่าถ้าโดยการละเมิดของคนนั้นคนเดียว เป็นเหตุให้ความตายครอบงำอยู่
โดยคนนั้นคนเดียว มากยิ่งกว่านั้นคนทั้งหลายที่รับพระกรุณาอันไพบูลย์ และ
รับของประทานคือความชอบธรรมก็จะดำรงชีวิต และครอบครองโดย
พระองค์ผู้เดียว คือพระเยซูคริสต์
(รม.5:17)
บทอ่าน รม.5:12-21
                ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ผู้คนมากมายที่อยู่ร่วมกัน บางคนก็ยากจน บางคนก็เจ็บป่วย บางคนเกเร กินเหล้าเมามายเหตุที่มนุษย์เราต้องมีสภาพเช่นนี้ ก็เนื่องจากผลของบาป คนเหล่านั้นจมลึกอยู่ในหลุมแห่งความผิด จึงเห็นร่องรอยแห่งความผิดบาป แต่ก็มีบางกลุ่มที่ดูภายนอกแล้ว ประหนึ่งว่า จะไม่ใช่คนบาปเลย บางคนแต่งตัวเรียบร้อยดูสวยงาม สุภาพโอบอ้อมอารี ดูแล้วเป็นสุภาพชนครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่อง ลักษณะเช่นนี้ก็น่าจะไม่ใช่คนบาป แต่นั้นเพียงเป็นการมอง จากสภาพภายนอกเท่านั้น เรามองดูจิตใจคนไม่ได้ พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบถึงจิตใจของทุกคน พระเจ้าตรัสว่า เขาทุกคนหลงผิดไปหมด  เขาทั้งปวงเลวทรามเหมือนกันสิ้น  ไม่มีสักคนเดียวที่กระทำดี ไม่มีเลย” (รม.3:12) บาปเริ่มเข้ามาในโลก ก็ด้วยว่า เหตุฉะนั้น เช่นเดียวกับที่บาปได้เข้ามาในโลกเพราะคนๆเดียว และความตายก็เกิดมาเพราะบาปนั้น และความตายก็ได้แผ่ไปถึงมวลมนุษย์ทุกคน เพราะมนุษย์ทุกคนทำบาป (รม.5:12) เรื่องราวของ อาดัมและเอวา ในสวนเอเดนนั้น พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างสวนขึ้นก่อน จากนั้นจึงทรงเอาผงคลีดินมาปั้นเป็นกายของอาดัม ระบายลมปรานเข้าทางจมูก มนุษย์จึงเป็นผู้มีชีวิต (ปฐก. 2:7) หลังจากนี้ พระเจ้าทรงสร้างเอวาจากกระดูกซี่โครงของอาดัม ด้วยเหตุนี้ครอบครัวแรกจึงเริ่มขึ้น ลักษณะที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของมนุษย์ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายก็คือมนุษย์มี เจตจานงเสรีที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้มีอำนาจในการตัดสินใจเลือก มนุษย์อาจจะเลือกกระทำตามพระทัยของพระเจ้า หรือเลือกกระทำตามใจของตนเองก็ได้ เพื่อจะย้ำในเรื่องนี้ พระเจ้าได้ทรงสร้างต้นไม้พิเศษขึ้นต้นหนึ่งในสวนนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในสวนนั้นจะต้องมีต้นไม้นานาชนิดนับเป็นหมื่น ๆ ต้น ซึ่งมีผลอร่อยน่ารับประทาน แต่มีอยู่ต้นเดียวที่เป็น ต้นไม้ต้องห้าม คือต้นที่ชื่อว่า ต้นไม้แห่งความสานึกในความดีและความชั่ว
                พระเจ้าได้ทรงสร้างอาดัม และเอวา ให้มีอิสระที่จะเลือกกระทำตามพระประสงค์ของพระองค์ แต่หากว่าเขาทั้งสองไม่มีโอกาสจะเลือกในทางที่ตรงกันข้ามกับพระประสงค์ของพระองค์แล้ว จะเรียกว่า ให้เลือกได้อย่างไร แต่พระเจ้าได้ทรงกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ในอันที่จะให้มนุษย์มีใจปรารถนาที่จะเชื่อฟังพระองค์ พระองค์ทรงสร้างอาดัม และเอวาให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง เขาทั้งสองมีความคิดที่หลักแหลมสุขุมรอบคอบ พระเจ้าทรงจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นสาหรับมนุษย์ไว้อย่างล้นเหลือ ทรงโปรดประทานอาหารให้อย่างบริบูรณ์ ประทานสภาพดินฟ้าอากาศที่น่าอยู่ที่สุด อาดัมไม่ได้ขาดอะไรเลยสักอย่างเดียวและของประทานขั้นสุดยอดที่พระเจ้าทรงโปรดประทานแก่เขา ก็คือ เอวา คู่อุปถัมภ์ที่น่ารักยิ่ง พระเจ้าทรงมอบงานให้อาดัมทำพระเจ้าจึงทรงให้มนุษย์นั้นอยู่ในสวน ให้ตกแต่งและรักษาสวน (ปฐก. 2:15) พระเจ้าเสด็จเข้ามาในสวนเพื่อร่วมสามัคคีธรรมกับมนุษย์เป็นประจำ (ปฐก. 3:8) และแล้วการทดสอบก็มาถึง ฝ่ายหนึ่งคือซาตาน อีกฝ่ายหนึ่งก็คือมนุษย์ ผู้มีอำนาจครอบครองเหนือสรรพสิ่ง การทดสอบครั้งนี้ มิใช่เป็นแต่เพียงการทดสอบเพื่อดูว่าอาดัมและเอวาจะกินผลไม้จากต้นที่ต้องห้ามนั้นหรือไม่ แต่เป็นการทดสอบว่าพระราชอำนาจของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่สูงสุดจะมีอำนาจเหนือจิตใจมนุษย์มากกว่ากลอุบายของซาตานหรือไม่  ในที่สุด แต่ว่าทุกคนก็ถูกล่อให้หลง เมื่อกิเลสของตัวเองล่อและชักนำให้กระทำตาม 15ครั้นตัณหาเกิดขึ้นแล้วก็ทำให้เกิดบาป และเมื่อบาปเจริญเต็มที่แล้วก็นำไปสู่ความตาย”(ยก.1:14-15) อาดัมและเอวาไม่พอใจที่จะอยู่ในขอบเขตที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้  เขาอยากจะเป็นอิสระเขาจึงละเมิดคำสั่งของพระเจ้า ยากที่มนุษย์คนใดจะเอาชนะ จุดเริ่มต้นแห่งความผิดบาปก็คือ “ความเห็นแก่ตัว” เอวาได้ แตะ เด็ด และกิน ต่อจากนั้นก็ส่งให้อาดัมซึ่งก็ได้รับผลไม้ไปกินเช่นกัน บาปได้เกิดขึ้น และความตายได้เคลื่อนเข้าสู่มนุษยชาติทั้งมวล อาดัมและเอวาได้ขัดขืนต่อน้ำพระทัยของพระเจ้า ซาตานได้ชัยชนะในการต่อสู้ครั้งนี้
                “ความจริงบาปได้มีอยู่ในโลกแล้วก่อนมีธรรมบัญญัติ แต่ที่ใดไม่มีธรรมบัญญัติก็ไม่ถือว่ามีบาป 14อย่างไรก็ตาม ความตายก็ได้ครอบงำตลอดมาตั้งแต่อาดัมจนถึงโมเสส แม้คนที่มิได้ทำบาปอย่างเดียวกับการละเมิดของอาดัม ผู้ซึ่งเป็นแบบของผู้ที่จะเสด็จมาภายหลัง 15แต่ของประทานแห่งพระคุณนั้นหาเป็นเช่นความละเมิดนั้นไม่ เพราะว่าถ้าคนเป็นอันมากต้องตายเพราะการละเมิดของคนๆเดียว มากยิ่งกว่านั้น พระคุณของพระเจ้าและของประทานโดยพระคุณของพระองค์ผู้เดียวนั้น คือพระเยซูคริสต์ ก็มีบริบูรณ์แก่คนเป็นอันมาก 16และของประทานนั้นก็ไม่เหมือนกับผล ซึ่งเกิดจากบาปของคนนั้นคนเดียว เพราะว่าการพิพากษาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการละเมิดเพียงครั้งเดียวนั้น ได้นำไปสู่การลงโทษ แต่ของประทานจากพระเจ้าภายหลังการละเมิดหลายครั้งนั้น นำไปสู่ความชอบธรรม 17เพราะว่าถ้าโดยการละเมิดของคนนั้นคนเดียว เป็นเหตุให้ความตายครอบงำอยู่โดยคนนั้นคนเดียว มากยิ่งกว่านั้นคนทั้งหลายที่รับพระกรุณาอันไพบูลย์ และรับของประทานคือความชอบธรรมก็จะดำรงชีวิต และครอบครองโดยพระองค์ผู้เดียว คือพระเยซูคริสต์” (รม.5:13-17) อาจารย์เปาโล อธิบายด้วยหลักเหตุผลว่าความบาปมีอยู่ในโลกนี้นานแล้ว ก่อนการมาถึงของพระบัญญัติของโมเสส (หรือบัญญัติใดๆก็ตาม) ก่อนการมาถึงของพระบัญญัติ ความบาปนั้นไม่ถูกนับ แต่ความตายก็ครอบงำตลอดมา  “ความตาย” คือผลของความบาป แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำบาปอย่างเดียวกับ “การละเมิด” ของอาดัมก็ตาม บาปขออาดัมคือการไม่เชื่อฟังพระเจ้า และไปกินผลไม้ต้องห้าม ไม่เคยมีใครได้ทำบาปนี้อีก เพราะหลังจากนั้นพระเจ้าได้ขับไล่พวกเขาทั้งสองออกจากสวนเอเดน แต่กระนั้นคนในรุ่นหลังก็ได้รับผลของบาปเหมือนอาดัมคือ ความตาย ในข้อ14 เป็นแบบของผู้ที่จะเสด็จมาภายหลัง ประโยคนี้เป็นแบบเปรียบเทียบในการกระทำระหว่างอาดัมกับพระเยซูคริสต์ อาดัมเหมือนกับพระเยซูคริสต์ตรงที่ว่าสิ่งที่ทั้งสองกระทำเกี่ยวกับมนุษย์ อาดัมเป็นชีวิตฝ่ายเนื้อหนัง แต่พระเยซูคริสต์เป็นตัวแทนของชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ อาดัมเป็นต้นกำเนิดของความบาป ทำให้มนุษย์ทุกคนอยู่ใต้อำนาจของบาป พระเยซูคริสต์เป็นต้นกำเนิดของความชอบธรรม และความชอบธรรมนี้ก็มีอิทธิพลเหนือ มนุษย์ทุกคน มนุษย์ทุกคนตายในอาดัมฉันใด มนุษย์ทุกคนก็มีชีวิตในพระเยซูคริสต์ ฉันนั้น

อ่านบทความอื่นๆ ต่อได้ที่  http://theword-2015.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คืนดี...ปรองดอง(ตอนสุดท้าย)

            เต็มใจที่จะทนทุกข์ ความบาปได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้า และมีแต่การเสียสละอันเจ็บปวดเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้ทุกอย่างดีขึ้นดังเดิม พระคำกล่าวว่า“ด้วยว่าพระคริสต์ก็ได้สิ้นพระชนม์ {สำเนาต้นฉบับบางฉบับว่า ทนทุกข์} ครั้งเดียวเท่านั้นเพราะความผิดบาป คือพระองค์ผู้ชอบธรรมเพื่อผู้ไม่ชอบธรรม เพื่อจะได้ทรงนำเราทั้งหลายไปถึงพระเจ้า ฝ่ายกายพระองค์จึงสิ้นพระชนม์ แต่ฝ่ายวิญญาณทรงคืนพระชนม์” (1ปต.3:18) การที่องค์พระเยซูคริสต์มาบังเกิดเพื่อสละพระชนม์นั้น พระเจ้าทรงมีพระประสงค์ที่จะเสียสละเพื่อเรา พระองค์ทรงอดทนที่จะเผชิญหน้ากับความทุกข์ ซึ่งเราก็ควรกระทำเช่นนั้นด้วย ในความสัมพันธ์ที่แตกร้าว โดยปกติแล้ว เรามักจะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด จากการถูกนินทาว่าร้าย การถูกเข้าใจผิด และถูกปฏิเสธ แต่หากจะให้ความขัดแย้งระหว่างกันคลี่คลายได้ เราก็ต้องยอมทนความเจ็บปวดในการนี้ให้ได้ ไม่มีใครชอบความเจ็บปวด แต่ก็คุ้มค่าหากจะทำให้มิตรภาพที่เคยมี กลับมาอีกครั้ง
          ชวนมาคืนดีกัน โดยผ่านทางพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงเชื้อเชิญทั้งชาวยิวและชนต่างชาติ นี่เป็นข้อเสนอแห่งสันติสุข เพราะการเสียสละพระชนม์ชีพของพระบุตร เป็นโอกาสดีที่จะกลับมาหาพระเจ้า นี่เป็นคำเชิญชวน ให้เราสนใจและรับข้อเสนอที่จะคืนดีกลับพระองค์ “และพระองค์ได้เสด็จมาประกาศสันติสุขแก่ท่านที่อยู่ไกล และประกาศสันติสุขแก่คนที่อยู่ใกล้ 18เพราะว่าพระองค์ทรงทำให้เราทั้งสองพวกมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบิดาโดยพระวิญญาณองค์เดียวกัน” (อฟ.2:17-18) นี้เป็นพระคำยืนยันจากพระเจ้า ในความขัดแย้งสิ่งหนึ่งที่ทำได้ยากที่สุดก็คือนั่งลงและพูดกันให้เข้าใจ“หากว่าพี่น้องของท่านผู้หนึ่งทำผิดบาปต่อท่าน จงไปแจ้งความผิดบาปนั้นแก่เขา สองต่อสองเท่านั้น ถ้าเขาฟังท่าน ท่านจะได้พี่น้องคืนมา” (มธ.18:15) การหลบหน้ากัน การระเบิดโทสะใส่กัน ย่อมง่ายกว่าการพูดคุยกันอย่างเงียบๆ เรามักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันเพราะ ความอาย ความกลัว และความโกรธ แต่หากเราตั้งใจที่จะแก้ไขเรื่องนี้จริงๆ เมื่อไหร่ที่เกิดความขัดแย้งเราต้องชวนอีกฝ่ายมาคุยกันในเรื่องนั้นๆ ว่าจะแก้ไขความไม่ลงรอยนี้ได้อย่างไร
          ให้อภัย เราดื้อ แต่พระเจ้าก็ยังทรงพระกรุณาเรา เราสมควรถูกลงโทษ แต่พระองค์ยังทรงมีพระประสงค์จะสำแดงพระกรุณา แทนที่พระเจ้าจะทรงถือโทษเรา พระองค์ปรารถนาจะยกโทษให้เราผ่านทางพระบุตรของพระองค์ “ในพระเยซูนั้น เราได้รับการไถ่บาปโดยพระโลหิตของพระองค์ คือได้รับการอภัยโทษบาป ของเราโดยพระกรุณาอันอุดมของพระองค์” (อฟ.1:7) ในชีวิตจริงเรามักจะคิดกันว่า “ฉันไม่โกรธหรอก แต่ฉันจะเอาคืน” ด้วยความคิดแบบนี้จึงยากที่จะเข้าใจพระกรุณาที่เราไม่สมควรได้รับนี้ องค์พระผู้เป็นเจ้าไม่ประสงค์จะเอาคืน พระองค์ปรารถนาจะนำเราให้กลับมาสู่ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์ ในการดำเนินชีวิตนั้นความสัมพันธ์ที่แตกร้าวจะไม่อาจฟื้นคืนได้ หากเราไม่พร้อมที่จะทำสิ่งที่ยากนี้ ต้องเต็มใจและยอมรับคนที่ทำร้ายเรา“และท่านจงเมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่ท่านในพระคริสต์นั้น” (อฟ.4:32) การอภัยให้กันและกัน บางครั้งต้องเลือกที่จะยกโทษทั้งๆ ที่ขัดกับความรู้สึก พระคำกล่าวว่า “แม้ว่าพระเจ้าจะทรงเสียพระทัยและพิโรธเพราะความบาปของเรา(สดด.7:11) แต่พระองค์ก็ทรงเลือกที่จะให้อภัย(อฟ.4:23)” เราต้องทำแบบนี้ต่อกันด้วย ต้องพยายามอย่างจริงจังที่จะพูดคุยแก้ไขกับคู่กรณี ไม่อย่างนั้นความสัมพันธ์ก็ไม่อาจดีดังเดิมได้
          แนวทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นทางที่ไม่เห็นแก่ตัว เมื่อพระองค์ทรงพยายามคืนดีกับเรา พระองค์ทรงพยายามวางแบบอย่างของความรัก ความถ่อมใจ การทนทุกข์ การเชิญชวน และการให้อภัย ไว้ หากเรารับพระคุณนี้ แต่กลับปฏิเสธที่จะแสดงน้ำใจอย่างเดียวกันต่อผู้ที่ทำผิดต่อเรา ก็ถือว่าเราไม่รู้พระคุณอย่างแท้จริงเลยทีเดียว                             .......Amen.......


อ่านบทความอื่นๆ ต่อได้ที่  http://theword-2015.blogspot.com/

คืนดี...ปรองดอง(ตอนสี่)

           “จงให้ใจขมขื่น และใจขัดเคือง และใจโกรธ และการทะเลาะเถียงกัน และการพูดให้ร้าย กับการคิดปองร้ายทุกอย่าง อยู่ห่างไกลจากท่านเถิด 32 และท่านจงเมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่ท่านในพระคริสต์นั้น”
(อฟ.4:31-32) อ.เปาโลยืนยันว่า ความขมขื่น ความเกรี้ยวกราด และความโกรธแค้นล้วนเป็นสิ่งที่ไม่สมควรมีอยู่ในชีวิตของผู้ที่เรียกตนเองว่าคริสเตียน สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกขจัดออกไปเสีย เราต้องยอมรับความจริงว่า ในทุกความสัมพันธ์จะต้องพบกับวิกฤตการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อคนเราเกิดความขุ่นเคืองแล้ว ก็จะเริ่มห่างเหิน ความคิดเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ไม่ช้าคำพูดและการกระทำที่ไม่เหมาะสมก็ตามมาความสัมพันธ์ก็จะตึงเครียด ความสัมพันธ์ที่แตกร้าวก็ทำให้การดำเนินชีวิตทนทุกข์ทรมานได้เหมือนกัน และถ้าเราตอบสนองตามใจอยากก็มีแต่จะทำให้ยิ่งแย่ลง หลายครั้งที่เราพยายามแก้ไขปัญหา แต่กลับไม่ได้ผลเอาเสียเลย การแก้ไขความสัมพันธ์ที่แตกสลายแล้วให้กลับฟื้นคืนดีอีกนั้น นับว่าเป็นเรื่องยากแสนเข็ญ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ ในชีวิตขององค์พระเยซูคริสต์นั้น พระองค์ทรงแก้ไขความสัมพันธ์ที่แตกหักระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ด้วย พระองค์ทรงรัก พระองค์ทรงถ่อมพระองค์ลง พระองค์ทรงทนทุกข์ พระองค์เชื้อเชิญให้คืนดี และพระองค์ทรงยกโทษ ดังนั้นในชีวิตคริสเตียนทุกคนควรจะยึดองค์พระเยซูคริสต์เป็นแบบอย่าง นั้นคือเราควรจัดการกับความสัมพันธ์ที่แตกร้าวด้วย ความรัก ความถ่อมใจ เต็มใจที่จะทนทุกข์ ชักชวนคืนดีกัน และให้อภัยกัน เช่นเดียวกับพระบิดาของเรา
          ความรัก พระเจ้าเป็นความรัก “โดยข้อนี้ ความรักของพระเจ้าก็เป็นที่ประจักษ์แก่เราทั้งหลาย คือ พระเจ้าทรงใช้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เข้ามาในโลก เพื่อเราทั้งหลายจะได้ดำรงชีวิตโดยพระบุตร 10 ความรักที่ข้าพเจ้าพูดถึงนี้ มิใช่ที่เรารักพระเจ้า แต่ที่พระองค์ทรงรักเรา และทรงใช้พระบุตรของพระองค์ มาทรงเป็นผู้ลบล้างพระอาชญา ที่ตกกับเราทั้งหลาย เพราะบาปของเรา” (1 ยน.4:9-10) แม้เราจะเป็นคนบาปแต่พระเจ้าก็เป็นผู้เริ่มต้นของการคืนดี ด้วยเหตุนี้เราเองควรจะเป็นผู้เริ่มคืนดีกับคนที่เราผิดใจด้วย ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย “เหตุฉะนั้น ท่านจงเลียนแบบของพระเจ้า ให้สมกับเป็นบุตรที่รัก 2 และจงดำเนินชีวิตในความรัก เหมือนดังที่พระคริสต์ได้ทรงรักเราทั้งหลาย และทรงประทานพระองค์เองเพื่อเรา ให้เป็นเครื่องถวาย และเครื่องบูชาอันเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า”(อฟ.5:1-2) แต่ด้วยเราเป็นบุตรของพระเจ้าเราต้องเลียนแบบพระองค์ การเริ่มต้นที่จะ “ยอมรักเขา” เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ต้องรักด้วยใจจริง(รม.12:9) อดทนไม่แสดงอารมณ์ในทางลบ นี่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิเสธตัวเอง ....."ถ้าผู้ใดใคร่ตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเอง และรับกางเขนของตนแบก และตามเรามา" (มธ.16:24) ซึ่งองค์พระเยซูคริสต์เรียกร้องให้เรากระทำ
          ถ่อมใจ  พระเจ้าถ่อมพระองค์ลง พระเจ้าพระบุตร ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์คือ พระเยซูคริสต์ และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์แล้ว พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลง ยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน” (ฟป.2:8) พระองค์ไม่ได้เห็นแก่ราชศักดิ์ และสิทธิ์ทั้งปวง พระองค์ไม่ถือสิทธิ์ แต่ทรงห่วงใยเรายิ่งกว่าตัวพระองค์เอง การถ่อมลงเป็นสิ่งสำคัญมากในการซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่แตกหักระหว่างเรากับพระเจ้า แม้แต่พระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพระเจ้ายังลดพระองค์ลงเพื่อสร้างสันติกับคนบาปได้ เราก็ต้องลดตัวเองลงเพื่อสร้างสันติกับผู้อื่นได้เช่นกัน “เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้ถูกจำจอง เพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอวิงวอนท่านให้ดำเนินชีวิตสมกับพันธกิจ อันเนื่องจากการทรงเรียกท่านนั้น 2 คือ จงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง และใจอ่อนสุภาพ อดทนนาน และอดกลั้นต่อกันและกัน ด้วยความรัก 3 จงเพียรพยายามให้คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้น ด้วยสันติภาพเป็นพันธนะ” (อฟ.4:1-3) ความหยิ่งยโสอาจเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงกับคนอื่น บางครั้งผู้คนมักมองว่าการสร้างสันติต่อกันเป็นความอ่อนแอ ดังนั้นเราไม่อยากให้คนอื่นมองว่าเป็นคนอ่อนแอจึงปกป้องศักดิ์ศรีของตนเองโดยการปิดกั้นตัวเองจากคู่กรณี การแสดงท่าทีที่เย็นชาต่อกันเป็นสิ่งไม่ถูกต้องสำหรับคริสเตียน “จงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง” นี่เป็นคำสั่งในพระคำของพระเจ้า ฉะนั้นเมื่อใดก็ตามที่เรามีปัญหากับผู้อื่น “เราควรเข้าหาด้วยใจถ่อม”   
         
อ่านบทความอื่นๆ ต่อได้ที่  http://theword-2015.blogspot.com/